Loading
Header Image
สดช. ลงพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนดีอี 2 โครงการ
watermark

วานนี้ (26 พฤศจิกายน 2567) คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมด้วย นายสมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการบริหารเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ลงพื้นที่ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กองทุนดีอี) จำนวน 2 โครงการ คือ โครงการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ VR และห้องเรียนเสมือนจริงสำหรับประชาชนทั่วไปเพื่อรองรับการเข้าสู่ TU Metaverse ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และโครงการนำร่องการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลและการพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล เพื่อการบริหารจัดการข้อมูลทางสถิติสำหรับการพัฒนาประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

สำหรับโครงการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ VR และห้องเรียนเสมือนจริงสำหรับประชาชนทั่วไปเพื่อรองรับ การเข้าสู่ TU Metaverse ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โครงการนี้ได้ทำแพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนาศักยภาพทางด้านภาษาและเป็นศูนย์กลางตลาดแรงงานด้านการใช้ภาษาในองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาบทเรียน VR ใน 2 ภาษา คือ อังกฤษและจีน โดยภาษาละ 5 หลักสูตร หลักสูตรละ 10 บทเรียน และพัฒนาระบบห้องเรียน VR Application ระบบทดสอบวัดระดับออนไลน์ พร้อมระบบออกประกาศนียบัตรให้แก่ผู้ที่ผ่านหลักสูตรตามเกณฑ์ และระบบตลาดภาษาดิจิทัลเพื่อเป็นสื่อกลางในการหางานและหาแรงงานด้านภาษาที่มีการรับรองสมรรถนะทางภาษา ระบบห้องเรียน VR จะเปิดกาสให้บุคคลประชาชนทั่วไปเข้ามาใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สร้างโอกาสในชีวิตให้กับประชาชนไทยทั่วไปที่สนใจหาเลี้ยงชีพได้ด้วยทักษะภาษา รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับ ภาคการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป

ในส่วนของโครงการนำร่องการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลและการพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล เพื่อการบริหารจัดการข้อมูลทางสถิติสำหรับการพัฒนาประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โครงการนี้ได้ทำการพัฒนาแพลตฟอร์มการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับวางแผนยุทธศาสตร์และนโยบาย และพัฒนาระบบงานด้วยเครื่องมือช่วยระบบแบบ Low Code ซึ่งเป็นการสร้างนวัตกรรมที่ช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถติดตามความคิดเห็นของประชาชนและการปรับชั้นตอนปฏิบัติงานให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งโครงการนี้ได้เสนอการใช้เทคโนโลยี Social Analytics ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยประมวลผลข้อมูลที่อยู่ใน Social Media ซึ่งทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกแบบนโยบาย (Civic Partipation) และเพิ่มความสามารถในการติดตามผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์และนโยบายของผู้บริหาร เพื่อให้หน่วยหน่วยงานภาครัฐปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

#สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

#ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

#สดช

#กองทุนดีอี


image รูปภาพ
image
image
image
image
image
image


คะแนนโหวต :
ImageImageImageImageImage